วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ ๑๒.๓๓ เมตร สูง ๕๓.๖ เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ ๔ ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ ๓ เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ถึง แรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

ที่ตั้ง ๑๘๓/๑๓ ถนนชยางกูร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๔๘๑๑๐
นิกาย เถรวาท
เวลาทำการ ๐๕.๐๐-๒๐.๐๐ น.

การถ่ายภาพ พระธาตุพนม พิพิธภัณฑ์ บ่อนำพระอินทร์ หอระฆัง ฆ้องใหญ่ หอพระนอน กลองใหญ่ รัตนศาลา ต้นพระศรีมหาโพธิ์

กิจกรรมงานนมัสการพระธาตุพนม สวดมนต์ข้ามปี มอบทุนบาลี วันบุรพาจารย์รำลึก วันสัตตนาคารำลึก

งานนมัสการพระธาตุพนม
งานนมัสการพระธาตุพนม ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๒ ถึง แรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี รวม ๙ วัน ๙ คืน
ก่อนเริ่มพิธีนมัสการพระธาตุ จะมีการอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นจากแม่น้ำโขงเวลา ๘-๙ นาฬิกา แห่จากท่าน้ำไปยังวัดพระธาตุพนม มีการฟ้อนรำถวาย

ประวัติพระธาตุพนม (โดยสังเขป) ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอีสาน พระบรมธาตุที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาของนครพนมมาแต่ โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธกาลประมาณ พ.ศ.๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเจริญรุ่งเรือง ประดิษฐานอยู่บนภูกำพร้าตั้งตระหง่าน อยู่ริมฝั่งโขง เป็นสถานที่ครั้งหนึ่งพุทธองค์เคยเสด็จมาโปรดสัตว์น้อยโหญ่ ตามตํานานอุรังคธาตุกล่าวถึง พระมหากัสสปะและพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นําพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจากชมพูทวีปและท้าวพญาผู้ครองนครทั้ง ๕ เป็นประธาน ในการสร้างที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนมในปัจจุบัน

ภาพบน ภาพวาดพระธาตุพนมองค์เดิม รูปแบบศิลปกรรมที่บูรณะโดยเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๓ บันทึกโดยคณะสำรวจแม่น้ำโขงภายใต้การนำของฟรานซิส การ์นิเยร์ นายทหารเรือชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑

