top of page

ถ้ำนาคา บึงกาฬ ตำนานความเชื่อเรื่องเจ้าปู่อือลือที่ถูกสาปให้เป็นพญานาค

ถ้ำนาคา ตำนานความเชื่อเรื่องเจ้าปู่อือลือที่ถูกสาปให้เป็นพญานาคและถูกจองจำ จะพ้นคำสาปและทำให้พื้นที่นั้นได้เป็นที่รู้จักและเจริญรุ่งเรือง ก็ต่อเมื่อครบ 10 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการครบรอบการก่อตั้งจังหวัดบึงกาฬ 10 ปี ในปีพ.ศ. 2563 ทำให้มีผู้ได้มาพบเห็นถ้ำแห่งนี้ และเกิดการกระจายข่าวไปตามความเชื่อส่วนบุคคลจนเป็นที่โด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อุทยานแห่งชาติภูลังกา

อีเมล : pLK_np@hotmail.com


ถ้ำนาคา

ถ้ำนาคา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการที่พื้นผิวของหินเกิดการกัดกร่อนไปตามปรากฎการณ์ซันแครก (sun crack) ทำให้มีลวดลายคล้ายเกล็ดปลาหรือเกล็ดงู ประกอบกับการโค้งตัวของหินทำให้รูปร่างโดยรวมคล้ายกับการขดตัวของงูใหญ่หรือพญานาค ตั้งอยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (น้ำตกตาดวิมานทิพย์) บ้านตาดวิมานทิพย์ ตำบล โพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ


ถ้ำนาคา

ถ้ำนาคา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันที่มีฝนตกหนัก สามารถขึ้นชมได้ทุกฤดูกาล โดยในแต่ละฤดูกาลจะให้ภาพและบรรยากาศแตกต่างกันไป ในฤดูฝนจะเกิดมอส เฟิน และพืชพันธุ์ต่าง ๆ เกาะตามผิวหินทำให้ดูมีชีวิตชีวา ในฤดูร้อนจะเห็นผิวหินชัดเจน และระหว่างทางจะเต็มไปด้วยบรรดาพืชพันธุ์ดอกไม้ ทั้งไม้พุ่มและไม้ยืนต้นที่กำลังออกดอก เช่น ข่อยหิน เต็ง รัง คำมอกหลวง ม้าวิ่ง อะราง ตะแบกเกรียบ เป็นต้น


ถ้ำนาคา



ถ้ำนาคา

ระยะทางจากจุดเริ่มต้นไปถึงถ้ำนาคาประมาณ 1,400 เมตร ทางเดินเป็นทางเดินธรรมชาติ ประกอบด้วย บันไดเป็นช่วง ๆ สลับกับพื้นดิน และมีบางจุดจะต้องดึงเชือกเพื่อช่วยพยุงตัวทั้งตอนขึ้นและลง นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ เจดีย์หลวงปู่เสาร์ เจดีย์หลวงปู่วัง ถ้ำหลวงปู่วัง และหัวนาคาที่ 1 เป็นต้น ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 4-5 ชั่วโมงเหมาะแก่ผู้ที่มีสภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ตั้งครรภ์ และไม่มีโรคประจำตัว


ถ้ำนาคา

ในช่วงแรกๆ นักท่องเที่ยวต้องใช้สะพานแดงนี้ เป็นที่สัญจร ทั้งขึ้นและลง ช่วงที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้การจราจรติดขัด มีหลายต่อหลายครั้งที่มีนักท่องเที่ยวตกค้างจำนวนมากในอดีต กว่าจะลงมาถึงพื้นราบได้ พระอาทิตย์ก้อตกดินไปแล้ว เดือดร้อนเจ้าหน้าที่อุทยานและไกด์จิตอาสา ต้องช่วยกันนำไฟฉายไปช่วยส่องทางเพื่อป้องกันอุบัติเหตุระหว่างลงเขา

ถ้ำนาคา

ใครอยากทราบประวัติ สะพานแดง ต้องเดินทางมาสัมผัสสถานที่จริง เชฟโอเล่าไปจะทำให้เสียบรรยากาศไปเปล่าๆ

ถ้ำนาคา

เรามาดูความงดงามของธรรมชาติ ระหว่างเดินขึ้นถ้ำกันครับ